ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีเพื่อนๆ นักลงทุนทุกท่าน หลังจากที่ห่างหายไปนาน สิ่งแรกที่จะบอกกับเพื่อนๆ คือยังสบายดีอยู่ และตลอดเวลาที่หายไปเพียงเพราะมีงานประจำส่วนตัวที่ต้องดูแลด้วย และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็ยังถือหุ้นลงทุนเต็มพอร์ตอยู่เสมอไม่ได้หนีหายไปไหน
ตลอดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปลาย พศ. 2562 - ปัจจุบันคือกลางไตรมาสที่สองของ พ.ศ. 2565) เกือบทั้งโลกรวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์หนักคือการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 ซึ่งดูจะมีความรุนแรงมากในช่วงแรกกระทั่งระบบสาธารณสุขของหลายประเทศรับไม่ไหว มาตรการต่างๆ ทั้งการป้องกัน การห้ามประชาชนออกจากบ้าน การจำกัดเวลาออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) การจำกัดการใช้บริการร้านอาหาร รวมไปถึงการปิดประเทศ นั่นยังไม่พอยังมีมาตรการเพิ่มเติมในการส่งสินค้าระหว่างประเทศอีกด้วย นี่เรียกว่าเกือบเป็นการแช่แข็งธุรกิจและการทำงานเลยทีเดียว ผลของการแพร่ระบาดนี้ทุกท่านคงทราบดีว่าทำให้ธุรกิจเล็กๆ จำนวนมากต้องปิดตัวลงไป
ด้านดัชนีตลาดหลักทรัพย์เองก็ปรับตัวลงจากกลางปี พ.ศ. 2562 ที่ประมาณ 1750 ลงต่ำถึง 1024.46 จุดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 (ปี 2022) ซึ่งจะสังเกตได้ว่า Covid-19 นั้นเริ่มแพร่ระบาดตั้งแต่ปี 2562 แล้ว จนถึงปัจจุบันแม้สถานการณ์เกี่ยวกับโรคดีขึ้นมากแต่ก็ยังไม่หมดไป ซ้ำยังเริ่มมีเหตุการณ์สู้รบกันระหว่างรัสเซียกับยูเครนเข้ามาอีก เรียกว่าพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกก็ว่าได้
ทั้งหมดถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะต่อให้ Covid-19 จบลง หรือสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนจบลง ก็มีเรื่องอื่นเข้ามาเสมอแหละครับ ข้อเสียก็คือการลงทุนจะวูบวาบน่าหวาดเสียวสำหรับคนทั่วไป แต่กับนักลงทุนที่มองหลายมุมแล้ว อาจจะเป็นข้อดีก็ได้
ข้อดีของวิกฤติ
1. เป็นโอกาสได้ซื้อหุ้นในราคาต่ำ
ข้อนี้เป็นข้อดีมากสำหรับผู้มีรายได้ประจำ แล้วค่อยๆ สะสมหุ้นไปเรื่อยๆ ในระยะยาว เป็นการออมที่ดีและมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดี แต่ต้องไม่ลืมว่า ราคาต่ำ (low price) ที่ว่านี้ยังถูกหรือแพงกว่ามูลค่า (value) ของธุรกิจนั้น ต้องไปคำนวณอีกทีหนึ่งด้วย
ข้อนี้เป็นข้อดีมากสำหรับผู้มีรายได้ประจำ แล้วค่อยๆ สะสมหุ้นไปเรื่อยๆ ในระยะยาว เป็นการออมที่ดีและมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดี แต่ต้องไม่ลืมว่า ราคาต่ำ (low price) ที่ว่านี้ยังถูกหรือแพงกว่ามูลค่า (value) ของธุรกิจนั้น ต้องไปคำนวณอีกทีหนึ่งด้วย
2. เป็นโอกาสได้เห็นความแข็งแกร่งของธุรกิจ
ในสภาพการณ์ที่เลวร้ายของเศรษฐกิจ หลายบริษัทอาจจะมียอดขายต่ำลง ในขณะที่บางบริษัทอาจจะมียอดขายสูงขึ้น ตัวเลขต่างๆ ทางบัญชีจากการดำเนินงานจะเปลี่ยนแปลงไปมาก ที่สำคัญมากคือรายได้ว่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยแค่ไหน สามารถควบคุมรายจ่ายได้สัมพันธ์กับรายได้หรือไม่ ค่าเสื่อมราคาที่ไม่ได้ลดลงไปตามรายได้แน่ๆ เหลือภาษีจ่ายเท่าไร สุดท้ายคือธุรกิจเหลือกำไรเท่าไร ในยุคแห่งวิกฤตินี่ล่ะที่เราจะเห็นได้จริงๆ
ในสภาพการณ์ที่เลวร้ายของเศรษฐกิจ หลายบริษัทอาจจะมียอดขายต่ำลง ในขณะที่บางบริษัทอาจจะมียอดขายสูงขึ้น ตัวเลขต่างๆ ทางบัญชีจากการดำเนินงานจะเปลี่ยนแปลงไปมาก ที่สำคัญมากคือรายได้ว่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยแค่ไหน สามารถควบคุมรายจ่ายได้สัมพันธ์กับรายได้หรือไม่ ค่าเสื่อมราคาที่ไม่ได้ลดลงไปตามรายได้แน่ๆ เหลือภาษีจ่ายเท่าไร สุดท้ายคือธุรกิจเหลือกำไรเท่าไร ในยุคแห่งวิกฤตินี่ล่ะที่เราจะเห็นได้จริงๆ
ซื้ออะไร
มีจุดน่าสังเกตว่าเราควรมองธุรกิจอะไรในการลงทุน ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้นะครับ
1. ประเภทอุตสาหกรรม
ในช่วงวิกฤติอาจจะมีบางอุตสาหกรรมที่ได้ผลประโยชน์ก็ได้ เช่น วิกฤติทางสุขภาพ ก็มีผู้ให้บริการทางการแพทย์ได้ประโยชน์ ในทางกลับกัน ธุรกิจกลุ่มประกันภัยที่รับประกันแก่ผู้ป่วย (เช่น กรณี Covid-19) อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อาหาร การบิน ได้รับผลกระทบไปด้วยแน่นอน ในขณะที่กลุ่มของแต่งบ้าน ลอจิสติกส์ อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการส่งของให้ผู้คนตามบ้าน กลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
2. บริษัทที่ยังคงได้กำไรจากผลประกอบการ
หลายอุตสาหกรรมมีค่าใช้จ่ายคงตัวต่ำ เมื่อรายได้ต่ำลง ค่าใช้จ่ายรวมก็ต่ำลงมากด้วย ก็เพราะค่าใช้จ่ายคงตัวต่ำนั่นเอง และนั่นมักแสดงถึงการมีหนี้สินน้อยด้วย (ดอกเบี้ยจ่ายไม่เคยรอใคร) ในช่วงวิกฤตินี้ถ้าดูว่ายอดขายลดลงแล้วยังมีกำไรได้ ในขณะที่ราคาหุ้นลดต่ำลงมาจน P/E เหลือ 10-12 ก็น่าสนใจเข้าไปดูนะครับ
3. บริษัทที่ขาดทุน แต่ไม่มากนัก
ถ้าจะไม่มองบริษัทที่ขาดทุนเลยก็คงไม่ครบถ้วน ในวิกฤติที่เห็นชัดเจนว่าบางบริษัทได้รับผลกระทบรุนแรงมาก ยอดขายตกต่ำเป็นเท่าตัว แต่กลับขาดทุนเพียงเล็กน้อย ถ้าบริษัทเหล่านั้นเคยมีผลกำไรที่ดีในช่วงเวลาปกติ และเห็นว่าการขาดทุนเป็นผลเพียงชั่วคราว ราคาหุ้นต่ำลงกว่าปกติมาก ทำให้มีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยมากขึ้น (เมื่อเทียบกับราคาเหมาะสมของหุ้นที่คำนวณจากมูลค่าของบริษัท) ก็ยังน่าพิจารณาว่าควรลงทุนหรือไม่
4. ระวังเรื่องการเปลี่ยนพื้นฐาน
บางวิกฤตินั้นอาจจะตามมาด้วยการเปลี่ยนพื้นฐานของธุรกิจไปได้เลย การเปลี่ยนพื้นฐานอาจจะเกิดได้สองส่วนใหญ่ๆ อย่างแรกคือ การขาดทุนที่ทำให้หนี้สินเพิ่มพูนเกิดขาดทุนสะสมจำนวนมากจนไม่สามารถชดใช้ได้ แม้บริษัทเหล่านี้จะกลับมาดำเนินงานตามปกติก็คงใช้เวลานานมากกว่าที่จะทำกำไรใช้หนี้สินจนหมด จะมีวิธีลัดมากขึ้นเช่นการเพิ่มทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมเพื่อให้กลับมาดำเนินงานได้อย่างแข็งแกร่งอีกครั้งหนึ่ง (แต่ก็ตามมาด้วย dilution effect คือจำนวนหุ้นมากขึ้น กำไรต่อหุ้นน้อยลง) หรือบางอุตสาหกรรมอาจจะเปลี่ยนพื้นฐานไปในทางที่ดีเช่น ระบบบริการการำงานจากบ้าน ต่างๆ หรือระบบลอจิสติกส์ ก็เป็นไปได้
ซื้อตอนไหน
ในช่วงวิกฤติจริงๆ นั้นคงเป็นเวลที่ไม่ดีเท่าไรในการเข้าไปซื้อหุ้น เพราะแม้จะราคาต่ำแล้วก็ยังมีต่ำกว่านั่นแล เหมือนเรือในมหาสมุทรที่เมื่อระดับน้ำลดต่ำลง เรือก็ต้องลอยต่ำลงไปด้วย ปกติแล้วเราจะเริ่มทยอยซื้อหุ้นตอนกำลังจะออกจากวิกฤติ ถ้าถาว่าทำไมไม่ซื้อตอนออกมาแล้ว ก็เพราะราคาหุ้นมักจะปรับตัวไปแล้ว (ราคามักวิ่งนำหน้าอนาคต) นั่นเอง
ซื้อตอนนี้ทันไหม
ณ วันนี้คือตลาดปิดทำการวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ 1638.75 จุด ถ้าดูเผินๆ ก็คือดัชนีขึ้นมาพอสมควรแล้ว แต่ถ้าเราไม่ได้ลงทุนกับกองทุนที่อิงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ยังมีหุ้นของหลายบริษัทที่ยังไม่ปรับตัวขึ้นมา (เรียกว่าหุ้น laggard คือช้าอืดอาดกว่าคนอื่น) ให้ลงทุนได้ ต้องลองเลือกดูเพราะมีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจริงๆ ครับ
บริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตให้เราลงทุนเสมอ
เครดิตภาพประกอบ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทดลองทำ
ลองกลับไปดูข้อมูลย้อนหลังในอดีตว่า ในวิกฤติต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น ต้มยำกุ้ง (พ.ศ. 2540) ซับไพรม์ (พ.ศ. 2550) ไวรัสโควิด (พ.ศ. 2562) บริษัทที่เราสนใจได้รับผลกระทบมากหรือน้อยอย่างไร โดยดูว่ายังคงได้กำไรหรือไม่หรือถึงกับขาดทุน หรือแย่กว่านั้นคือต้องเพิ่มทุนเพื่อเอาตัวรอด) ลองเลือกออกมาให้ได้สัก 5-10 บริษัท ในการนี้ลองสังเกตราคาหุ้นของบริษัทที่เราสนใจว่าขึ้นหรือลงในช่วงนั้น และเทียบกับปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่สร้างประสบการณ์ให้เราได้เคยเห็นแล้วนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในอนาคตได้