วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

เอาคืน



นับเป็นระลอกที่สองในช่วงเวลาหนึ่งเดือนที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นลงอย่างมาก โดยที่ตกใจเป็นพิเศษสักหน่อยคือปรับตัวลดลงค่อนข้างมากหลายสิบจุดในหนึ่งวัน สำหรับบางท่านที่อยู่ในตลาดมาไม่น้อยไม่มาก อาจจะตกใจกับตัวเลของดัชนีที่ปรับลดลง (หรือปรับขึ้น) อย่างไรก็ตามนอกจากการดู "จุดของดัชนี" ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญกว่าก็คือ "ร้อยละของดัชนี" ที่จะต้องดูด้วย

นั่นหมายถึงว่า การที่ดัชนีขึ้นหรือลง 30 จุดเมื่อดัชนีอยู่ที่ 600 จุด กับเมื่ออยู่ที่ 1200 จุด ย่อมจะมีความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะการขึ้นลงเมื่อคิดเป็นร้อยละจะเป็น 5 และ 2.5 ซึ่งต่างกันอยู่เท่าตัวเลยทีเดียว ถามว่าเรื่องนีทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ ก็เพราะมีความสำคัญง่ายๆ อยู่สองเรื่องคือ

1) เราต้องทราบความเปลี่ยนแปลงว่า จริงๆ แล้วรุนแรงมากน้อยเพียงใด โดยการดูที่จำนวนร้อยละมากกว่าจำนวนจุด ทำให้เราไม่ดีใจหรือตกใจมากเกินไปเมื่อดัชนีเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นถ้าเราเทียบดัชนีไทยเรากับหั่งเส็ง จะเห็นว่าการที่ดัชนีหั่งเส็งเปลี่ยนแปลงไป 100-150 จุดนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก เพราะฐานของดัชนีหั่งเส็งสูงกว่าของเรามาก

2) ทำให้เราวางแผนเรื่องการซื้อหุ้นคืนที่ราคาต่างๆ เพราะในบางครั้งนักลงทุนบางท่านอาจจะพิจารณาขายหุ้นไปก่อนเมื่อหุ้นกำลังปรับตัวลดลง และวางแผนไว้ว่าจะทำการซื้อกลับเมื่อดัชนีหรือราคาหุ้นกลับตัว การมองที่ระดับการปรับตัวเป็นร้อยละแทนจำนวนจุดของดัชนีน่าจะเป็นตัวเลขที่เหมาะสมกว่าในการวางแผน ทำให้สามารถขายออกและซื้อกลับคืนได้ถูกต้อง โดยเฉพาะในการวางแผนระหว่างวัน
ในช่วงที่ดัชนีผันผวนเช่นนี้ ก็ขอให้เพื่อนๆ นักลงทุนมีสติ มีวินัยต่างๆ (เน้นว่าต่างๆ ทั้งการซื้อและการขาย) เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว เราอาจจะต้องยอมแพ้ศึกบ้างเพื่อชนะสงคราม

แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ทุกท่านยอมแพ้ศึกทุกครั้งไป เพราะการตัดสินใจย่อมขึ้นกับสภาพการณ์ของแต่ละท่าน ว่ามีความได้เปรียบอย่างไร  ต้นทุนเท่าไร กำลังสำรองเท่าไร รบอยู่ในสนามรบไหน กับใคร สนามรบจะเปลี่ยนไปหรือไม่ ไม่ใช่ว่ายอมแพ้ทุกครั้งหรือสู้ทุกครั้ง นอกจากนั้นก็ยัง