วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Window dressing คืออะไร



เพื่อนนักลงทุนคงเคยได้ยินคำว่าวินโดวเดรสซิง (Window dressing) กันหลายครั้งแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่จะใกล้ปิดไตรมาส ก่อนจะมีเพื่อนเพื่อนพูดกันว่ามีการทำสิ่งที่เรียกว่าวินโดวเดรสซิงกัน หลายคนอาจจะทราบแล้วว่าคืออะไรแต่ก็คงมีนักลงทุนอีกหลายคนโดยเฉพาะมือใหม่ที่ไม่รู้ว่ามันคืออะไรผมก็เลยถือโอกาสช่วงปิดไตรมาสนี้มาเล่าให้ฟังกันครับ

โดยความหมายแล้วตามพจนานุกรมทั่วไป คำว่าวินโดวเดรสซิงหมายถึงการตกแต่งหน้าร้านเพื่อให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมามองเข้ามาแล้วเห็นว่าจำหน่ายสินค้าที่สวยงามน่าสนใจและดูดี แต่ในอีกความหมายหนึ่งแล้วคำนี้อาจสื่อในความหมายที่ไม่ค่อยดีนักเช่นการตกแต่งเพื่อตบตาผู้ที่มองเข้ามา หรือถ้าจะเปรียบกับภาษาไทยก็อาจจะคล้ายกับสำนวน ผักชีโรยหน้า ก็ได้ผิดไปมากนัก

วินโดวเดรสซิงในธุรกิจ


ที่จริงแล้วคำว่าวินโดวเดรสซิงไม่ได้จำกัดเฉพาะเกี่ยวกับถ้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือนักลงทุนเท่านั้นแต่รวมถึงธุรกิจหรือบริษัทต่างๆ ด้วย ตัวอย่างเช่นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานไม่ดีนักเช่นมีการหมุนเงินสดไม่ทันแต่ไม่ต้องการที่จะปิดงบการเงินรายไตรมาสหรือรายปีแล้วดูว่าเงินสดติดลบ บริษัทก็ทำการดึงการจ่ายเงินออกไปเล็กน้อยทำให้ ณ จุดเวลาที่ปิดงบการเงินยังคงมีเงินสดเหลืออยู่ในมือมากและดูว่าดีไม่มีปัญหาอะไร

วินโดวเดรสซิงกับการลงทุน


คำนี้ในความหมายของการลงทุนจะหมายถึงการกระทำหรือไม่กระทำอะไรบางอย่างก่อนที่จะออกงบการเงินของกองทุนต่างๆเพื่อทำให้ตัวเลขในงบการเงินหรือตัวเลขที่แสดง ความสามารถหรือประสิทธิภาพของกิจการดูดีขึ้น ตัวอย่างเช่นผู้จัดการกองทุนอาจจะขายหุ้นที่เกิดการขาดทุนออกไปแล้วก็เปลี่ยนเป็นหุ้นที่มีการคาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงเวลาอันสั้น

สิ่งที่เกิดขึ้น


สำหรับนักลงทุนแล้ววินโดว์เดรสซิ่งดูเหมือนจะมีผลมากที่สุดก็คือการทำให้ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์พุ่งสูงขึ้นในช่วงก่อนปิดไตรมาส อย่างไรก็ตามสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนต่างๆแล้วก็ควรจะให้ความสนใจว่ากล่องทุนที่ตัวเองถืออยู่นั้นมีการทำวินโดว์เดรสซิ่งหรือไม่อย่างไร เพราะกองทุนที่จำเป็นที่จะต้องทำวินโดว์เดรสซิ่งอาจเป็นกองทุนที่มีผลการดำเนินงานโดยปกติไม่ค่อยดีนัก หรือร้ายแรงไปกว่านั้นก็คือมีบางช่วงบางตอนได้ทำการลงทุนนอกเหนือไปจากนโยบายหรือกลยุทธ์การลงทุนที่ได้บอกกล่าวแก่นักลงทุนเอาไว้ และโดยสถิติแล้วแม้ว่าการทำวินโดว์เดรสซิ่งจะทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนดูดีขึ้นในระยะเวลาสั้นแต่ในระยะเวลายาวนานแล้วผลที่ได้กลับเป็นตรงกันข้าม ซึ่งก็เป็นอีกหน้าที่หนึ่งของตัวนักลงทุนเองที่จะต้องคอยดูว่ากองทุนที่ตัวเองถืออยู่นั้นมีกิจกรรมแปลกแปลกใช่มิหรือไม่

จะเห็นได้ว่า นอกจากความคิดหรือความรู้สึกว่าเมื่อใกล้สิ้นไตรมาสกองทุนต่างๆ จะพยายามซื้อหุ้นเพื่อดันดัชนีและราคาหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ให้สูงขึ้น เพื่อให้ผลการดำเนินงานของกองทุนดูดี นักลงทุนหลายคนที่คอยดักขายหุ้นในราคาสูงก็อาจจะได้ประโยชน์ในช่วงเวลานี้ไปด้วย แต่จะเห็นว่าหากกองทุนทำเช่นนี้บ่อยๆ (อย่างน้อยก็คือรับของจากผู้ขายให้คนอื่นในราคาแพง) ในระยะยาวแล้วก็ไม่น่าจะเป็นการดีนั่นเอง ส่วนเราที่เป็นนักลงทุนรายย่อย ลงทุนเองบ้าง ซื้อหน่วยลงทุนบ้าง จะตัดสินใจอย่างไรกับส่วนไหนก็คงสามารถนำความรู้ไปจัดการได้แล้วนะครับ