ถ้าจะพูดถึงข่าวคราวเกี่ยวกับวงการการลงทุนและการเงินในช่วงสัปดาห์นี้ก็คงต้องพูดถึงข่าวที่คาดการณ์กันว่าธนาคารกลางของสหรัฐจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย สิ่งที่ตามมาก็คืออัตราดอกเบี้ยของธนาคารต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศสหรัฐฯ เอง ทั้งเงินฝากและเงินกู้ก็จะเพิ่มสูงขึ้นไปด้วยเพื่อป้องกันการไหลของเงิน เป็นที่ทราบ (และเชื่อว่า) โดยทั่วไปแล้วการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนั้นไม่ดีต่อตลาดทุนเนื่องจาก (1) ทำให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทจดทะเบียนสูงขึ้น และ (2) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากดูเหมือนจะมีความปลอดภัยมากกว่าการนำเงินไปลงทุนในตลาดทุน ทั้งสองข้อหลักนี้ทำให้อาจจะและกังวลว่าอาจจะมีเงินทุนไหลออกจากตลาดทุนไปสู่ตลาดเงินหรือออกไปเพื่อนำไปฝากธนาคารเพื่อผลตอบแทนที่ดูเหมือนจะมีความเสี่ยงต่ำกว่า อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอาจจะไม่ตรงไปตรงมาอย่างที่คาดการณ์ไว้ก็ได้ เนื่องจากเมื่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝาก/เงินกู้ (แน่นอน เงินกู้ย่อมขึ้นด้วย) ของธนาคารปรับตัวสูงขึ้น สิ่งที่ตามมาคือสมดุลระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้กับการฝากเงินนั้นจะเปลี่ยนไป หลักการเบื้องต้นคืออาจจะมีเงินบางส่วนไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ เพื่อถูกนำไปฝากไว้ในธนาคารพาณิชย์ด้วยดอกเบี้ยที่สูงกว่าอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนสมดุล ซึ่งการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์นั้นมีข้อได้เปรียบหนึ่งที่เหนือตราสารหนี้คือสภาพคล่องที่สูงกว่า แต่ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่ตามมาจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็คืออัตราเงินเฟ้อที่จะสูงขึ้นตามมาไม่ว่าเป็นผลจากทางตรงหรือทางอ้อม (นักลงทุนมืออาชีพทราบดีว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยปกติเพิ่มขึ้นตราสารหนี้ของรัฐบาลหรือที่เรียกว่าพันธบัตรรัฐบาลจะต้องเพิ่มสูงขึ้นด้วย และในที่สุดแล้วนักลงทุนอาชีพก็รู้อีกว่าพันธบัตรรัฐบาลนั้นจะแพ้เงินเฟ้อ) ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นจะว่าไปแล้วเป็นผลดีต่อตลาดทุน เงินที่ไหลเวียนมากขึ้นหมายถึงการทำกำไรที่สูงขึ้นของกิจการจดทะเบียนในตลาดทุน และมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เงินส่วนหนึ่งถูกนำมาลงทุนในตลาดทุนมากขึ้นเป็นการทดแทน
นอกจากนี้กิจการสถาบันการเงินทั้งเล็กใหญ่ต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์มีความสามารถในการทำกำไรขึ้นอยู่กับ ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้ (interest margin) และดอกเบี้ยเงินฝากหรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับต้นทุนของเงินทุน (cost of fund) ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังสามารถถูกขยับเพิ่มขึ้นสูงได้และรักษาส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้และเอาไว้ได้ สถาบันการเงินต่างๆ ก็ดูจะไม่เดือดร้อนเท่าไรยกเว้นแต่ว่าผู้กู้กู้น้อยลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นสูงเกินไปและเริ่มไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนของผู้กู้ (ไม่ว่าจะเป็นกิจการหรือบุคคล)
ที่จริงแล้วถ้าเราจะมองถึงภาพรวมเราต้องไม่ลืมว่าผู้ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยขึ้นหรือลงน้ำย่อมต้องเป็นห่วงต่อสภาพการที่จะเกิดขึ้นในหลายด้านรวมทั้งตลาดทุนของประเทศตัวเองด้วยเนื่องจากบุคคลเหล่านี้น่าที่จะมีการลงทุนในหลายส่วนทั้งตลาดเงินและตลาดทุน ดังนั้นถ้าจะคิดกันแบบภาษาชาวบ้านก็คือเขาย่อมไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนด้วย การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นนั้นจึงน่าเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่าความกังวลแบบคลาสสิคเพียงชั่วคราวเท่านั้นสุดท้ายแล้วผู้คนหรือตลาดก็จะรู้จักปรับตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่แน่นอนว่า ในระหว่างของการปรับสมดุลนี้ย่อมมีการกระเพื่อม (จากการตกใจ จากความไม่แน่ใจ) บ้างเป็นธรรมดา
แต่ในที่สุดแล้ว ความเจริญเติบโตของบริษัทในระยะยาว ก็ยังคงขึ้นกับความสามารถในการแข่งขันของตัวกิจการเอง ความสามารถในการบริการลูกค้าของตัวเอง และพฤติกรรมตลาดของผู้บริโภคของสินค้าและบริการของกิจการนั้นๆ มากกว่าอย่างอื่นนั่นเองครับ